อาการที่มักจะเกิดขึ้นในหนุ่มสาววัยทำงาน หนีไม่พ้นอาการออฟฟิศซินโดรมเจ้าปัญหานี้เอง ที่ทำให้เราทั้งปวด ชา กล้ามเนื้อบริเวณหลัง เอว ก้น บ่า ไหล่ แขน แต่อาการหล่านี้มีทั้งอาการรุนแรงน้อยที่คอยกวนใจเราจนน่ารำคาญ และรุนแรงมากจนทนไม่ไหว หากเราปล่อยไว้ไม่รักษาอย่างทันท่วงทีก็อาจส่งผลในระยะยาวได้

สาเหตุของอาการออฟฟิศซินโดรม
1. การที่เราอยู่ในอริยาบทเดิมๆ เป็นเวลานาน
การที่เราอยู่ในอริยาบทเดิมๆ ติดต่อกันหลายชั่งโมงเป็นเวลานาน โดยเฉพาะคนที่ต้องนั่งทำงานหน้าคอมเป็นประจำ หรือคนที่ชอบใช้มือถือ แล้วไม่หยุดพักหรือยืดเส้นยืดสายบ้างทำให้เกิดอาการปวด ชา ในบริเวณต่างๆ ในบางรายจ้องหน้าจอโดยไม่พักก็ทำให้ปวดตา ตาพร่ามัว ปวดศีรษะ หรือสายตาแย่ลงได้
2. อยู่ในท่าทางที่ไม่เหมาะสม
ท่าทางที่ไม่เหมาะสมเกิดจากสภาพแวดล้อมที่ไม่เหมาะสม เช่น การจัดวางองศาของคอมพิวเตอร์ โต๊ะ-เก้าอี้ต่ำหรือสูงเกินไป หรือนั่งชิด-ห่างเกินไป ทำให้กล้ามเนื้อเกิดอาการเกร็งตัวเป็นเวลานาน
3. สภาพร่างกายอื่นๆ ที่อาจส่งผลกระทบ
ในบุคคลที่สภาพร่างกายเสี่ยงต่อการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรมได้ง่าย เช่น มีความเครียด โรคอ้วน สารอาหารไม่ครบถ้วน การพักผ่อนไม่เพียงพอ เป็นต้น
อาการต่างๆ ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นสัญญาณของร่างกายที่มาย้ำเตือนเราว่า หากกำลังเกิดอาการเหล่านี้ ถึงเวลาที่เราต้องเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและสภาพแวดล้อมของให้เหมาะสมได้แล้ว
วิธีป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม
1. ไม่นั่งท่าเดิมนานเกินไป
ควรมีการหยุดพักในระหว่างการทำงาน โดยการกายบริหารด้วยท่าง่ายๆ เพื่อผ่อนคลายกล้ามเนื้อที่เกร็งอยู่จากการใช้งานเป็นระยะเวลานาน โดยตั้งกฎกับตัวเองว่าเราจะต้องพักทุกๆ ชั่วโมง หรือเมื่อรู้สึกเมื่อยแล้วเราจะไม่ฝืนต่อ
2. ปรับสภาพแวดล้อมในการทำงานให้เหมาะสม
ปรับความสูง-ต่ำของ โต๊ะ เก้าอี้ เม้าส์ หน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่เราต้องใช้ในการทำงานให้เหมาะสม โดยไม่ให้ต้องโน้มตัวเข้าหาหน้าจอ หรือยืดแขนจนเมื่อยหากอยู่ไกลเกินไป ให้รู้สึกว่านั่งแล้วอยู่ในท่าสบายไม่เมื่อยง่าย รวมถึงการปรับแสงสว่างให้เพียงพอด้วย

3. ไม่เพ่งหน้าจอนานเกินไป
ในยุคปัจจุบันคงไม่มีใครหลีกเลี่ยงการมองหน้าจอได้ ไม่ว่าจะเป็นคอมพิวเตอร์ มือถือ แท็บแล็ตต่างๆ แต่ควรหยุดพักสายตาบ้าง ซึ่งตาเป็นอวัยวะที่สำคัญมาก หากใครเพ่งหน้าจอเป็นเวลานานอาจจะเกิดอาการตาแห้ง ปวดตา ปวดหัว หรือแพ้แสง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสายตาในวัยสูงอายุได้ ดังนั้นควรพักสายตาทุกๆ 1 ชั่วโมง โดยการหลับตา หรือมองวิวรอบๆ ตัวบ้าง
4. จิบน้ำบ่อยๆ
หลายคนดื่มน้ำน้อยมากในแต่ละวัน ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อร่างกายเลย เป็นต้นเหตุของความผิดปกติของร่างกาย เช่น รู้สึกอ่อนเพลียไม่กระฉับกะเฉง ปวดข้อปวดกระดูกง่าย การขับถ่ายมีปัญหา เป็นต้น ดังนั้นเราควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมโดยการจิบน้ำให้บ่อยมากขึ้น ซึ่งยังสามารถเป็นตัวช่วยให้เราได้หยุดพักในระหว่างการทำงานได้อีกด้วย
5. ออกกำลังกายเป็นประจำ
การออกกำลังกายเป็นการยืด-หดกล้ามเนื้อ ช่วยลดอาการเกร็งและสร้างความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น เอนหรือข้อต่อต่างๆ จากการใช้งานมาตลอดทั้งวัน รวมถึงช่วยให้มีมรรถภาพของร่างกายที่ดี มีภูมิต้านทานโรคต่างๆ และผ่อนคลายความเครียดได้
